ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ หรือ EIC เปิดเผยการประเมินผลกระทบจากภัยแล้งในปี 63 ว่า เป็นภัยแล้งที่มีความต่อเนื่องจากปลายปี 62 และต่อเนื่องถึงปี 63 และยังเชื่อว่าจะมีผลกระทบที่ยาวนาน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเหลือปริมาณน้อย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ขณะที่ภาคกลางปริมาณน้ำในเขื่อนเข้าสู่ขั้นวิกฤต ซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ ทั้งปริมาณผลผลิตข้าวนาปรัง ปริมาณอ้อย และมันสำปะหลังในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น
สำหรับปริมาณการเพาะปลูกอ้อยจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 62 ส่งผลให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบสำหรับผลิตน้ำตาลในฤดูการผลิตปี 62/63 ลดลงมาก โดย EIC คาดว่า ในกรณีร้ายแรงที่สุด ปริมาณอ้อยเข้าหีบสำหรับผลิตน้ำตาลในฤดูการผลิตอาจลดลงมากถึง 25 ล้านตัน หรือคิดเป็น 27% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบโดยรวม ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณอ้อยเข้าหีบสำหรับผลิตน้ำตาลในฤดูการผลิตเหลือประมาณ 75 ล้านตัน หดตัว 43% จากในฤดูการผลิตที่ผ่านมา ที่มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 132
ส่วนผลต่อผลผลิตข้าวนาปรังนั้น EIC คาดว่า ในกรณีร้ายแรง ที่ภัยแล้งยาวนานไปถึงเดือนมิถุนายน ปี 63 ผลผลิตข้าวนาปรังอาจลดลงมากถึง 9 แสนตัน คิดเป็น 21% ของปริมาณผลผลิตข้าวนาปรังโดยรวม EIC คาดว่า ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายในฤดูการผลิตปี 62/63 น่าจะไม่ต่ำกว่า 800 บาท/ตัน จากในปัจจุบันที่ราคาอ้อยขั้นต้นอยู่ที่ 750 บาท/ตัน
สำหรับราคาข้าวขาวในปี 2020 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาแตะระดับ 8,000 บาท/ตัน ขยายตัว 2% จากในปี 2019 ที่ 7,812 บาท/ตัน อย่างไรก็ดี แม้ว่าผลผลิตข้าวไทยในปี 2020 จะมีแนวโน้มลดลงค่อนข้างมากแต่การแข่งขันในตลาดข้าวโลก
ที่รุนแรง และสต็อกข้าวโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยที่ยังกดดันให้ราคาข้าวไทยสามารถขยายตัวได้เล็กน้อย
ทั้งนี้สัดส่วนปริมาณผลผลิตข้าวนาปรังคิดเป็นประมาณ 20% ของปริมาณผลผลิตข้าวไทยโดยรวม ในขณะที่สัดส่วนปริมาณผลผลิตข้าวส่วนใหญ่กว่า 80% เป็นข้าวนาปี โดยความเสียหายของผลผลิตข้าวนาปรังจากภัยแล้งในกรณีร้ายแรงดังกล่าว อาจส่งผลให้ในฤดูการผลิตปี62/63 ผลผลิตข้าวนาปีและนาปรังรวมกันของไทยอาจเหลือ 28-29 ล้านตัน ลดลงจากในปีปกติที่ไทยมีผลผลิตข้าวนาปีและนาปรังรวมกันประมาณ 32-33 ล้านตัน สำหรับราคาข้าวขาวในปี63 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาแตะระดับ 8,000 บาท/ตัน ขยายตัว 2% จากในปี62 ที่ 7,812 บาท/ตัน อย่างไรก็ดี แม้ว่าผลผลิตข้าวไทยในปี 63 จะมีแนวโน้มลดลงค่อนข้างมากแต่การแข่งขันในตลาดข้าวโลกที่รุนแรง และสต๊อกข้าวโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยที่ยังกดดันให้ราคาข้าวไทยสามารถขยายตัวได้เล็กน้อย
EIC คาดว่าปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังว่า แม้สัดส่วนผลผลิตกว่า 57% ของปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังโดยรวมจะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีหลายจังหวัดในภูมิภาคนี้เผชิญสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรง แต่เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชทนแล้งจึงได้รับผลกระทบจากภัยแล้งน้อยกว่าพืชชนิดอื่น ๆ โดย EIC คาดว่า ในกรณีร้ายแรงที่สุด ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 62/63 อาจลดลง 1.8 ล้านตัน คิดเป็น 7% ของปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังโดยรวม ในส่วนของราคามันสำปะหลังในปี63 ก็มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 2.4 บาท/กิโลกรัม ขยายตัว 16% จากในปี 2019 ที่ 2.0 บาท/กิโลกรัม โดยประเทศผู้ผลิตและส่งออกมันสำปะหลังที่สำคัญ ทั้งไทย เวียดนาม และกัมพูชา กำลังเผชิญการระบาดของโรคใบด่าง ซึ่งส่งผลให้ปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังโลกมีแนวโน้มลดลง
EIC ภัยแล้งส่งผลราคาอ้อย ข้าว มันสำปะหลัง มีแนวโนมปรับตัวสูงขึ้น
